ครูจักรกริศษ์ สุขสวัสดิ์ เป็นผู้ที่มีพื้นฐานการศึกษามาในสายงานช่างไทย อีกทั้งได้มีโอกาสเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ทั้งพิพิธภัณฑ์วัดและวังได้พบเห็นผลงานเครื่องประดับมุกโบราณจากสถานที่เหล่านั้น จึงได้หล่อหลอมให้เกิดความประทับใจจากผลงานที่พบเห็น จนเกิดความชื่นชอบ และมีใจรักด้านงานช่างประดับมุกเป็นพิเศษและประกอบกับการศึกษา หาความรู้มาตลอด จนเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถและความเชี่ยวชาญการเป็น “ช่างประดับมุก” จึงนับเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นผู้สร้างสรรค์ และสืบสาน อนุรักษ์งาน ประณีต ศิลป์ชนสูงมีแนวโน้มใกล้สูญหาย และเหลือช่างฝีมือผู้ทําอยู่น้อยรายอย่าง “เครื่องประดับมุก” และมีการพัฒนาสร้างสรรค์ผลงานที่วิจิตรบรรจง และทรงคุณค่า นับเป็นช่างประดับมุกผู้ที่เปี่ยมด้วยฝีมือใน “งานประดับมุก” ตามแบบอย่างเชิงช่างชั้นสูงโบราณ ในทุกกระบวนการ ทั้งที่เป็นภาชนะเครื่องใช้ในราชสำนักแบบดั้งเดิม และสิ่งของเครื่องใช้ในพระพุทธศาสนา ที่วิจิตร ประณีตงดงาม และทรงคุณค่า ให้คงอยู่โดยไม่สูญหายไปตามกาลเวลา มาจนถึง ทุกวันนี้กว่า 30 ปีมาแล้ว
ในอดีตเครื่องประดับมุกได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในกลุ่มชนชั้นสูง โดยนิยม นําไปใช้ประดับตกแต่งหุ่นไม้โต๊ะหมู่บูชา ซึ่งในปัจจุบันหอยมุกเป็นวัสดุที่หายากและ มีราคาสูง จึงต้องนําเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้านงานลงรักประดับมุกจึงนับเป็นงานช่างทมีความซับซ้อนเนองจากมีกระบวนการมากกว่า 10 ขั้นตอน ที่ต้องทำอย่างชํานาญ จึงจะสามารถรังสรรค์ผลงานอันทรงคุณค่าให้น่าประทับใจแก่ผู้พบเห็นได้และมีความ คงทนไม่ว่าเวลาจะผ่านไป ความงดงามก็จะยังคงอยู่ด้วยภูมิปัญญาโบราณในการทำแต่ละขั้นตอนที่สืบทอดรักษาไว้ด้วยความตั้งใจ ทำให้ผลงานคงความงามได้เหนือกาลเวลา